วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถ่ายทอดอิเล็กตรอน


การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
เป็นกระบวนการที่มีการที่นำเอา NADH และ FADH2 ซึ่งเป็นตัวนำอิเล็กตรอนที่มีพลังงานอยู่มาก
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดขึ้นที่เยื้อหุ้มชั้นในของไมโทรคอนเดรีย


การถ่ายอิเล็กตรอนแบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 NADH จะส่ง อิเล็กตรอนให้กับ Complex I

1. NADH จะเข้าไปเกาะกับ complex I และส่งอิเล็กตรอน 2 ตัว ให้แก่
FMN ทำให้ FMN ถูกรีดิวซ์กลายเป็น FMNH2
2. FMNH 2 ให้อิเล็กตรอนต่อแก่ Fe-S ซึ่งเป็นกลุ่มของเหล็กและซัลเฟอร์หลายตัว ซึ่งสถานะของ
Fe ใน Fe-S จะเป็น Fe2+ เมื่อถูกรีดิวซ์ (รับอิเล็กตรอน) และเป็น Fe3+ เมื่อถูกออกซิไดซ์ (ให้อิเล็กตรอน)
3. Fe-S จะให้อิเล็กตรอนแก่โคเอนไซม์ Q (Q ถูกรีดิวซ์กลายเป็น QH2 )
การไหลของอิเล็กตรอน 2 ตัว จาก NADH ไป โคเอนไซม์ Q ทำให้เกิดปั๊มของโปรตอน ( H+ ) 4 ตัว
จากด้านในคือ แมทริกซ์ผ่านเยื่อหุ้มชั้นในออกไปที่ส่วนของช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มชั้นในและชั้นนอกของ ไมโทคอนเดรีย
ช่วงที่ 2 FADH2 จะส่งอิเล็กตรอนให้กับ Complex II

FADH2 ถูกสร้างขึ้นในวัฏจักรเครบส์จากการออกซิไดซ์ succinate ให้เป็น fumarate โดย
succinate dehydrogenase ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ succinate-Q-reductase
หรือ complex II ในการนี้ FADH2 ที่เกิดขึ้นจะไม่หลุดออกจากเอนไซม์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ complex II และจะส่งอิเล็กตรอน 2 ตัว จากโมเลกุลไปให้กลุ่ม Fe-S
โดยตรง ซึ่ง Fe-S ก็จะส่งต่อให้โคเอนไซม์ Q (ทำนองเดียวกันกับที่เกิดขึ้นใน complex I)
แต่ complex II จะต่างจาก complex I ตรงที่ไม่มีการปั๊มโปรตอน ( H+ )
ผ่านเยื่อหุ้มทั้งนี้เพราะพลังงานอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาจะน้อยกว่าที่จะทำได้ ดังนั้น ปริมาณ ATP
ที่จะสร้างขึ้นได้จากการ ออกซิไดซ์ FADH2 จะน้อยกว่าของ NADH
ช่วงที่ 3 อิเล็กตรอนถูกถ่ายทอดจากโคเอนไซม์ Q ผ่าน complex III ไปยังไซโตโครม c

complex III คือ Q-cytochrome c oxidoreductase บางครั้งเรียกว่า cytochrome b c1complex
เพราะ ประกอบด้วยไซโตโครม 2 ชนิด คือ b และ c1 (ซึ่งมี heme ที่มี Fe)และยังมีกลุ่มโปรตีน Fe-S เกาะอยู่ด้วย
หน้าที่ของ complex III หรือ cytochrome reductase คือจะรับอิเล็กตรอน (2 ตัว)จากโคเอนไซม์ Q (QH2 )
และส่งต่อไปยัง cytochrome c และในขณะเดียวกันก็ปั๊มโปรตอน ( H+ ) ผ่านเยื่อหุ้มออกไปด้านนอก
ในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากโคเอนไซม์ Q ไปยัง complex III นั้นโคเอนไซม์ Qจะถูกออกซิไดซ์
และรีดิวซ์ (Q และ QH2 ) สลับกันเป็นวัฏจักรที่เรียกว่า Q cycle
ช่วงที่ 4 อิเล็กตรอนถูกส่งจากไซโตโครม c ไปยัง O 2 ผ่าน complex IV

complex IV คือ ไซโตโครม ออกซิเดส (cytochrome oxidase complex) หรือcytochrome a a3
ประกอบด้วย heme A 2 ชนิดคือ a และ a3 ซึ่งเป็นฮีมที่มีทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบ complex IV
จะรับอิเล็กตรอนมาจากไซโตโครม c และส่งต่อให้ O2 อิเล็กตรอน 4 ตัว จะถูกส่งไปยังโมเลกุลของ O2
เพื่อรีดิวซ์ O2 ให้เป็น H2O ปฏิกิริยานี้เกิดพลังงานอิสระในปริมาณมากสำหรับปั๊มโปรตอนจากด้านแมทริกซ์
ผ่านเยื่อหุ้มชั้นในออกไปด้านที่ติดกับไซโตซอล ซึ่ง proton gradient ที่เกิดขึ้นนี้ถูกนำมาใช้ในการสร้าง ATP
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีดังรูป คือ Fe2+ ในไซโตโครม c (ในรูปรีดิวซ์) 2 โมเลกุลส่งอิเล็กตรอนให้ Cu
ของไซโตโครม a ซึ่งจะส่งต่อให้ Cu ของไซโตโครม a3 ซึ่งจะเป็นตัวส่งอิเล็กตรอนต่อให้ O2



ปฏิกิริยานิวเคลียร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือปฏิกิริยาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิวเคลียสของอะตอม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม หรือลดโปรตอน หรือนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ปฏิกิริยานี้

จะเห็นได้ว่าโซเดียม ได้มีการรับนิวตรอนเข้าไป เมื่อนิวเคลียสเกิดความไม่เสถียร จึงเกิดการคายพลังงานออกมา และพลังงานที่คายออกมานั้น เมื่ออยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว มันก็คือรังสีแกมมานั่นเอง
โดยทั่วไปรังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียรนั้น มักจะมีค่าพลังงานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของไอโซโทป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะประจำไอโซโทปนั้น ๆ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์นั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งในบรรดารูปแบบทั้งหมดที่เราค้นพบในปัจจุบัน จะมีเพียง 2 รูปแบบที่เราพูดถึงกันบ่อย ๆ นั่นก็คือปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Fission) และปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน (Fusion)


ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Fission Process) เป็นการแตกนิวเคลียสของอะตอมจากอะตอมของธาตุใหญ่ให้กลายเป็นอะตอมของธาตุเล็ก 2 อะตอม ซึ่งในกระบวนการนี้จะให้พลังงานออกมาด้วย เช่น

ซึ่งในปฏิกิริยาที่ยกตัวอย่างนี้ ไอโซโทปของแบเรียม (Ba) และคริปตอน (Kr) ซึ่งไอโซโทปทั้งสองตัวนี้มีนิวตรอนมากกว่าปกติ จึงมีการคายพลังงานออกมาในรูปของรังสีเบตา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในตัวอย่างนี้สารผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาจะเป็นกากกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีเบตา (Beta Ray) แต่ก็ยังมีปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่แผ่รังสีชนิดอื่น ๆ รวมไปถึงรังสีแกมมา ตัวอย่างนี้เป็นเพียงการทำให้เห็นภาพว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันจะคายพลังงานออกมา นั่นก็เป็นเพราะโดยทั่วไปเมื่อธาตุที่มีมวลหรือเป็นธาตุหนักขึ้น จำนวนของนิวตรอนก็เริ่มที่จะมากกว่าโปรตอนไปด้วยตามลำดับ ซึ่งเมื่ออะตอมเหล่านี้แตกตัวมาเป็นอะตอมของธาตุที่เล็กกว่า ก็ย่อมทำให้จำนวนนิวตรอนของอะตอมมากกว่าปกติ

สมการเคมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้น (อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบ
ตัวอย่างสมการเคมี

สมการเคมีโดยทั่วไปแล้วจะใช้สัญลักษณ์แทนของธาตุต่าง ๆ มีลูกศรที่ชี้จากด้านซ้ายของสมการไปทางด้านขวาเพื่อบ่งบอกว่าสารตั้งต้น(reactant)ทางด้านซ้ายมือ ทำปฏิกิริยาเกิดสารใหม่ขึ้นมาเรียกว่าผลิตภัณฑ์ (product)ทางด้านขวามือ ดังนั้น จากสมการเคมีเราสามารถใช้คำนวณหาได้ว่าใช้สารตั้งต้นเท่าไรแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเท่าไร
จากกฎทรงมวลเราจึงต้องทำให้แต่ละข้างของสมการต้องมีจำนวนอะตอม และประจุที่เท่ากัน เรียกว่า การดุลสมการ ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้
1. พยายามดุลธาตุที่เหมือนกันให้มีจำนวนอะตอมทั้งสองด้านเท่ากันก่อน 2. ในบางปฏิกิริยามีกลุ่มอะตอมให้ดุลเป็นกลุ่ม 3. ใช้สัมประสิทธิ์(ตัวเลขที่ใช้วางไว้หน้าอะตอม)ช่วยในการดุลสมการ แล้วนับจำนวนอะตอมแต่ละข้างให้เท่ากัน

ตัวอย่างที่ 1 ให้ทรงกลมสีแดง แทนอะตอมของออกซิเจน และทรงกลมสีน้ำเงินแทนอะตอมของไนโตรเจน รูปใดแสดงถึงผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยานี้
AC_FL_RunContent( 'codebase','http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,29,0','width','370','height','308','src','flash/eq_ex1','quality','high','pluginspage','http://www.macromedia.com/go/getflashplayer','movie','flash/eq_ex1' ); //end AC code
แนวคิด ดูจากผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ NO2 โดยมี N 1 อะตอม กับ O 2 อะตอม คำตอบคือข้อ ค.
ตัวอย่างที่ 2 จงดุลสมการต่อไปนี้
แนวคิด จากสมการ ให้ดุล Fe ก่อน ซึ่งด้านซ้ายมี 1 อะตอม ด้านขวามี 2 อะตอม ดังนั้นต้องใส่สัมประสิทธิ์ด้านซ้ายเป็น 2

ดุล O2 ด้วย สัมประสิทธิ์ 3/2

ทำให้เป็นเลขจำนวนเต็มโดยการ x 2 ทั้งสมการ

จะได้สมการสุดท้ายคือ

ตัวอย่างที่ 3 จงดุลสมการต่อไปนี้


ในสมการเคมีสามารถบอกอัตราส่วนแสดงจำนวนอะตอมหรือโมเลกุลของสาร ซึ่งเทียบได้โดยตรงกับจำนวนโมลที่ใช้
ในการคำนวณมีขั้นตอน ดังนี้
1. เขียนและดุลสมการเคมี (สัมประสิทธิ์หน้าสมการเคมีที่ดุลแล้วทำให้ทราบอัตราส่วนโดยโมลของสารที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน)
2. จากโจทย์ อาจกำหนดปริมาณของสารในหน่วยต่างๆ เช่น มวล หรือ ปริมาตร ดังนั้นต้องเปลี่ยนให้เป็นหน่วยโมล
3. นำจำนวนโมลของสารที่ได้ในข้อ 2 ไปคำนวณ เพื่อหาปริมาณของสารตามที่โจทย์ต้องการ โดยเทียบกับอัตราส่วนโดยโมลของสารที่ได้จากข้อ 1
เช่น ถ้าโจทย์กำหนดปริมาณสาร A และให้หาประมาณสาร B ที่เกิดขึ้น

ความสัมพันธ์ของสมการเคมีกับการคำนวณ

ตัวอย่างที่ 4 แอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ย เตรียมได้โดยการผ่านแก๊สแอมโมเนีย (NH3) ลงในสารละลาย 65% ของกรดซัลฟิวริกที่มีความหนาแน่น 1.55 g/mL ต้องใช้กรดซัลฟิวริก (H2SO4) ปริมาตรเท่าไรในการทำปฏิกิริยากับ 1.00 กิโลกรัมของแก๊สแอมโมเนีย เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาพอดี
แนวคิด ต้องเขียนสมการเคมีก่อน และดุลสมการด้วย
วิธีคิด


ดังนั้น ต้องใช้สารละลายกรดซัลฟูริก 2.9 ลิตรในการทำปฏิกิริยา

ตัวอย่างที่ 5 สารละลาย Sodium hypochlorite (NaOCl) หรือที่รู้จักกันคือน้ำยาซักผ้าขาว เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่าง Sodium hydroxide กับ Chlorine
ต้องใช้ NaOH กี่กรัมในการทำปฏิกิริยากับ 25.0 g Cl2
แนวคิด ดุลสมการเคมีก่อนอันดับแรก จากนั้นดูว่ามีค่าใดที่กำหนดมาให้บ้าง แล้วทำตามแผนดังนี้
เริ่มต้นจากการหาจำนวนโมลของ Cl2 โดยมวลโมเลกุลของ Cl2เท่ากับ 70.9 g/mol ดังสมการ
จากสมการเคมีจะได้ว่า 1 โมลของ Cl2 ทำปฏิกิริยากับ 2 โมลของ NaOH และมวลโมเลกุลของ NaOH คือ 40.0 g/mol จะคำนวณหาจำนวนกรัมของ NaOH ที่ต้องใช้ทำปฏิกิริยา ดังสมการ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการไทเทรต


ปัจจุบันเทคโนโลยีทันสมัย การไทเทรต กรด-เบส ใช้เครื่องมือทันสมัยโดยต่อเครื่องพีเอสมิเตอร์เข้ากับเครื่องบันทึกข้อมูล แล้วใช้เครื่องพีเอสมิเตอร์อ่านค่า pH ขณะไทเทรต กรด-เบส
วิธีการไทเทรต กรด-เบส ด้วยเครื่องมือทันสมัย จะจัดอุปกรณ์การไทเทรต ดังนี้การจัดอุปกรณ์การไทเทรต กรด-เบส

เครื่องบันทึกข้อมูลค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงไปของสารละลายขณะไทเทรตกับปริมาตรของสารละลายกรดหรือเบสที่เติมลงไปไทเทรตตวงสารละลายกรดหรือเบสที่ทราบปริมาตร ลงในบีกเกอร์ และใส่สารละลายมาตรฐานเบสหรือกรดในบิวเรตต์จุ่มขั้วอิเล็กโตรดจากเครื่องพีเอสมิเตอร์ลงในบีกเกอร์ แล้วต่อขั้วอิเล็กโตรดเข้ากับเครื่องพีเอสมิเตอร์ และต่อเครื่องพีเอสมิเตอร์เข้ากับเครื่องบันทึกข้อมูล จากนั้นก็หยดสารละลายม าตรฐานจากบิวเรตต์ลงไปในไทเทรตกับสารละลายกรดหรือเบส ในบีกเกอร์ เครื่องบันทึกข้อมูลโดยผ่านเครื่องพีเอสมิเตอร์ จะบันทึกค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงไปกับปริมาตรของสารละลายมาตรฐานจากบิวเรตต์ที่เติมลงไปในบีกเกอร์นั้น บันทึกโดยเขียนออกมาในรูปกราฟไทเทรต กรด-เบส บิวเรตต์ที่เติมลงไปในบีกเกอร์นั้น บันทึกโดยเขียนออกมาในรูปกราฟไทเทรต กรด-เบส

ข้อควรระวังเกี่ยวการใช้ไพเพท


ไพเพทที่ทำเป็นพิเศษเพื่องานที่ต้องการความแน่นอนมากๆ ที่กระเปาะของไพเพจะบอกเวลาที่สารละลายไหลออกหมด ซึ่งเรียกว่า Time of outflow และเมื่อสารละลายไหลออกหมดแล้ว ต้องทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเรียกระยะเวลานี้ว่า Time of drainage หมายเหตุ

1. การปรับปริมาตรของสารละลายให้อยู่ตรงขีดปริมาตรพอดีนั้น จะต้องไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้น ณ บริเวณปลายของไพเพทหรือที่เรียกว่าการเกิด parallax

2. ห้ามเป่าขณะทำการปล่อยสารละลายออกจากไพเพทอย่าเด็ดดาด เพราะการเป่าจะทำให้ผนังด้านในของไพเพทสกปรก และยังทำให้สารละลายที่ติดอยู่กับผนังด้านในของไพเพทแต่ละครั้งแตกต่างกันด้วย ทำให้การวัดปริมาตรของสารละลายที่วัดมีค่าไม่เท่ากันเมื่อได้มีการทดลองซ้ำ แต่ถ้าเป็น Measuring pipette ที่ผู้ผลิตทำรอยแก้วฝ้าที่ปลายบนหรือมีหนังสือแจ้งไว้ จะสามารถเป่าสารละลายออกจากปลายไพเพทนั้นได้

3. หลังจากนำไพเพทไปใช้แล้ว จะต้องทำความสะอาดแล้วล้างด้วยน้ำกลั่นหลายๆ ครั้ง 4. ถ้าหากกระเปาะยางหรืออุปกรณ์ดูดอื่นๆ ไม่มี อาจจะใช้สายยางหรือสายพลาสติกต่อกับก้านของไพเพทก็ได้

เทคนิคการใช้ไพเพต


1. ก่อนใช้ไพเพทต้องมีการทำความสะอาดโดยดูดน้ำกลั่นเข้าไปจนเกือบเต็ม แล้วปล่อยให้ไหลออกมาจนหมด สังเกตดูว่าถ้าไม่มีหยดน้ำเกาะติดอยู่ภายในแสดงว่าไพเพทสะอาดดีแล้ว

2. เมื่อจะนำไพเพทที่เปียกไปใช้วัดปริมาตร ต้องล้างไพเพทด้วยสารละลายที่จะวัด 2-3 ครั้ง โดยใช้สารละลายครั้งละเล็กน้อยและให้สารละลายถูกผิวแก้วโดยทั่วถึง แล้วเช็ดปลายไพเพทด้วยกระดาษ tissue ที่สะอาด

3. จุ่มปลายไพเพทลงในสารละลายที่จะวัดปริมาตร โดยที่ปลายไพเพทอยู่ต่ำกว่าระดับสารละลายตลอดเวลาที่ทำการดูด เพราะเมื่อใดที่ระดับของสารละลายในภาชนะลดลงต่ำกว่าปลายไพเพทในระหว่างที่ทำการดูด สารละลายในไพเพทจะพุ่งเข้าสู่ปากทันที

4. ใช้ปากดูดหรือเครื่องดูดหรือกระเปาะยางดูดสารละายเข้าไปในไพเพทอย่างช้าๆ จนกระทั่งสารละลายขึ้นมาอยู่เหนือขีดบอกปริมาตร และใช้นิ้วชี้ปิดปลายไพเพทให้แน่นโดยทันที จับก้านไพเพทด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง (ไม่ควรใช้ปากดูด ถ้าสารละลายนั้นเป็นสารที่มีพิษ หรือเป็นกรดแก่ ด่างแก่ ต้องใช้เครื่องดูดหรือกระเปาะยางต่อตอนบนของไพเพท)

5. จับไพเพทให้ตั้งตรงแล้วค่อยๆผ่อนนิ้วชี้เพื่อให้สารละลายที่เกินขีดบอกปริมาตรไหลออกไปจนกระทั่งส่วนเว้าต่ำสุดของสารละลายแตะกับขีดบอกปริมาตรพอดี ปิดแน่นด้วยนิ้วชี้และ แตะปลายไพเพทกับข้างภาชนะที่ใส่สารละลาย เพื่อให้หยดน้ำซึ่งอาจจะติดอยู่ที่ปลายไพเพทหมดไป จับไพเพทให้ตรงประมาณ 30 วินาที่เพื่อให้สารละลายที่ติดอยู่ข้างๆ ไพเพทไหลออกหมด

6. ปล่อยสารละลายที่อยู่ในไพเพทลงในภาชนะที่เตรียมไว้โดยยกนิ้วชี้ขึ้น ให้สารละลายไหลลงตามปกติตามแรงโน้มถ่วงของโลกจนหมด แล้วแตะปลายไพเพทกับข้างภาชนะเพื่อให้สารละายหยดสุดท้ายไหลลงสู่ภาชนะ อย่าเป่าหรือทำอื่นใดที่จะทำให้สารละลายที่เหลืออยืที่ปลายไพเพทไหลออกมา เพราะปริมาตรของสารละลายที่เหลือนี้ไม่ใช้ปริมาตรของสารละลายที่จะวัด

เทคนิคการใช้บิวเรต


Measuring pipet คือมีขีดบอกปริมาตรต่าง ๆ ไว้ บิวเรตต์มีหลายขนาด ดังนั้นเมื่อจะนำบิวเรตต์ไปใช้จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ด้วย Measuring pipet คือมีขีดบอกปริมาตรต่าง ๆ ไว้ บิวเรตต์มีหลายขนาด ดังนั้นเมื่อจะนำบิวเรตต์ไปใช้จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ด้วย ก่อนใช้บิวเรตต์จะต้องล้างให้สะอาด และต้องตรวจดูก๊อก สำหรับไขให้สารละลายไหลด้วยว่า อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีหรือไม่ การล้างบิวเรตต์ปกติใช้สารซักฟอก หรือถ้าจำเป็นอาจต้องใช้สารละลายทำความสะอาดในกรณีที่ล้างด้วยสารซักฟอกไม่ออก การล้างต้องใช้แปรง ก้านยาวถูไปมาแล้วล้างด้วยน้ำประปาหลาย ๆ ครั้งจนแน่ใจว่าสารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดออกหมด ต่อจากนั้นจะต้องล้างด้วยน้ำกลั่นเพียงเล็กน้อยอีก 1-2 ครั้งก่อนที่จะนำไปใช้งาน ลักษณะของบิวเรตต์ที่สะอาดจะไม่มีหยดน้ำเล็ก ๆ เกาะอยู่ตามผิวแก้วด้านในของบิวเรตต์ และผิวน้ำจะไม่แตกแยก สำหรับก๊อกปิดเปิดของบิวเรตต์ก็ต้องทำความสะอาดเช่นเดียวกัน อาจล้างด้วยสารละลายทำความสะอาดหรือตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เบนซีน หรือแอซีโตน ใช้สำลีเช็ดก๊อกให้จาระบี ที่ทาไว้เดิมออกไป แล้วทาจาระบี ที่ก๊อกใหม่ การทานั้นให้ทาเฉพาะตรงบริเวณ A และ B เท่านั้น โดยบริเวณ A ทาตามขวาง ส่วนบริเวณ B ทาตามยาว การทาจาระบีต้องทาบาง ๆ หากทาหนามากเกินไปจะอุดรูก๊อกของบิวเรตต์ได้ เมื่อจะใส่สารละลายในบิวเรตต์ จะต้องล้างบิวด้วยสารละลายนั้นก่อนโดยใช้สารละลาย ประมาณ 5-10 มล. ใส่ลงไปหมุนบิวเรตต์ เพื่อให้สารละลายเปียกผิวด้านในของบิวเรตต์ อย่างทั่วถึง เปิดก๊อกให้สารละลายไหลผ่านออกทางปลายบิวเรตต์ แล้วเทสารละลายนี้ทิ้งไป อาจทำซ้ำอีก 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบิวเรตต์สะอาดจริง ๆ ต่อจากนั้น จึงค่อย ๆ เทสารละลายลงในบิวเรตต์ให้อยู่เหนือระดับ ขีดศูนย์เพียงเล็กน้อย (ก่อนเทสารละลายลงในบิวเรตต์ต้องปิดก๊อกก่อนเสมอ) แล้วปรับปริมาตร โดยให้ส่วนเว้าต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงขีดบอกปริมาตรพอดี การเทสารละลายลงในบิวเรตต์นี้เทคนิคที่ถูกต้องก็คือ จะต้องเทสารละลายผ่านกรวยกรอง เพื่อไม่ให้สารละลายหก อีกประการหนึ่งถ้าเทสารละลายใส่บีกเกอร์ก่อนแล้วจึงเทลงในบิวเรตต์ ถ้าบีกเกอร์ไม่สะอาดจะทำให้สารละลายนั้นสกปรกหรือความเข้มข้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ วิธีการทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ผิด ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
กล่าวโดยสรุปเทคนิคการใช้บิวเรตต์ที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้

1. ก่อนนำบิวเรตต์ไปใช้ต้องล้างบิวเรตต์ให้สะอาดด้วยสารซักฟอกหรือสารละลาย ทำความสะอาด ล้างให้สะอาดด้วยน้ำประปาแล้วล้างด้วยน้ำกลั่นอีก 2-3 ครั้ง

2. ล้างบิวเรตต์ด้วยสารละลายที่จะใช้เพียงเล็กน้อยอีก 2-3 ครั้ง แล้วปล่อยให้สารละลาย นี้ไหลออกทางปลายบิวเรตต์

3. ก่อนที่จะเทสารละลายลงในบิวเรตต์ต้องปิดบิวเรตต์ก่อนเสมอ และเทสารละลายลงในบิวเรตต์โดยผ่านทางกรวยกรอง ให้มีปริมาตรเหนือขีดศูนย์เล็กน้อย เอากรวยออกแล้วเปิดก๊อกให้สารละลายไหลออกทางปลายบิวเรตต์ เพื่อปรับให้ปริมาตรของสารละลายอยู่ที่ขีดศูนย์พอดี (ที่บริเวณปลายบิวเรตต์จะต้องไม่มีฟองอากาศเหลืออยู่ หากมีฟองอากาศจะต้องเปิดก๊อกให้สารละลายไล่อากาศออกไปจนหมด)

4. ถ้าปลายบิวเรตต์มีหยดน้ำของสารละลายติดอยู่ ต้องเอาออกโดยให้ปลายบิวเรตต์แตะกับบีกเกอร์หยดน้ำก็จะไหลออกไป
5. การจับปลายบิวเรตต์ที่ถูกต้อง(ดังภาพ) หากใช้บิวเรตต์เพื่อการไทเทรต หรือการถ่ายเทสารในบิวเรตต์ลงสู่ภาชนะที่รองรับจะต้องให้ปลายบิวเรตต์อยู่ในภาชนะนั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สารละลายหก 6. เมื่อปล่อยสารละลายออกจากบิวเรตต์จนสารละลายลดลงถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายของบิวเรตต์นั้น ๆ ต้องรีบปิดบิวเรตต์ทันที หากปล่อยให้สารละลายเลยขีดบอกปริมาตรสุดท้ายลงมา จะไม่ทราบปริมาตรที่แน่นอนของสารละลายที่ผ่านบิวเรตต์ลงมา อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้สารละลายที่มีจำนวนมาก และใช้บิวเรตต์ในการถ่ายเท เมื่อปล่อยสารละลายจนถึงขีดบอกปริมาตรสุดท้ายแล้ว ต้องปิดบิวเรตต์ก่อน แล้วจึงเติมสารละลายลงในบิวเรตต์ ปรับให้มีระดับอยู่ที่ขีดศูนย์ใหม่ ต่อจากนั้นก็ปล่อยสารละลายลงมาจนกว่าจะได้ปริมาตรตามต้องการ